Stay Interview รักษาพนักงานจากวิกฤต The Great Resignation
โดยปกติแล้วเราจะใช้คำว่า “Exit Interview” แต่คุณรวิศ หาญอุตสาหะ ได้พบเจอกับคำว่า “Stay Interview” ซึ่งในวันนี้เราจะมาอธิบายความแตกต่างระหว่าง Exit Interview และ Stay Interview เพื่อรองรับวิกฤต The Great Resignation เพื่อลดปัญหาการลาออกครั้งใหญ่ของพนักงานแบบกะทันหัน หลังผลกระทบโควิด-19 อย่างที่ผ่านๆมา
Exit Interview และ Stay Interview คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร ?
Exit Interview มีความหมายคือ การสัมภาษณ์พนักงานที่ต้องการลาออก เพื่อสอบถามถึงเหตุผลว่าทำไมถึงอยากที่จะไปจากองค์กร ส่วน Stay Interview มาในลักษณะของการพูดคุยกันแบบส่วนตัว เพื่อหาเหตุผลว่าทำไมพนักงานคนนั้นถึงลาออก ซึ่งความแตกต่างก็คือ Stay Interview สามารถทำได้ทุกปี หรือหลายครั้งต่อปี ส่วน Exit Interview จะทำเฉพาะเมื่อพนักงานคนดังกล่าวลาออกแล้วเท่านั้น
จุดประสงค์ของ Stay Interview คืออะไร ?
Stay Interview เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงาน หรือกำลังใจตอนอยู่ในองค์กร พูดง่ายๆก็คือเรื่องวัฒนธรรมองค์กร ที่แทบทุกบริษัทจะต้องมี และไม่นานมานี้ ได้มีเอเจนซี่อย่าง PPK ได้ทดลองใช้วิธีดังกล่าวในการใช้กับพนักงาน ผลปรากฏว่าดีเกินคาด เพราะในช่วงของ วิกฤต The Great Resignation เอเจนซี่ PPK กลับมีคนออกน้อยมากๆ และไม่ได้รับผลกระทบใดใดกับวิฤตนี้
สิ่งที่องค์กรควรปรับเพื่อเลี่ยงการทำ Stay Interview
- ตั้งคำถามและตั้งใจฟังพนักงานของคุณให้ดี หมั่นคอยสอบถามถึงเป้าหมายของพนักงานอยู่เสมอๆ และรับฟังพวกเขาอย่างตั้งใจ
- การทำ Stay Interview พนักงานต้องรู้สึกปลอดภัย และไม่จำเป็นต้องมีความเกรงใจ เพื่อรักษาน้ำใจ ต้องทำให้ภาพลักษณ์องค์กรดูสบายๆ เพื่อให้พนักงานกล้าที่จะพูดออกมาอย่างจริงใจ
- ให้ความสำคัญและทำให้พนักงานเกิดความพึงพอใจ
ทำ Stay Interview เพื่อลดการ The Great Resignation
สิ่งที่หลายๆองค์กรต้องทำความเข้าใจ คือเมื่อเข้าสู่ช่วงโควิดและพนักงานได้ทำงานที่บ้าน มีกิจกรรมทำอย่างอื่น หรือมีตัวเลือกมากยิ่งขึ้น การทำงานแบบองค์กรอาจจะไม่ใช่ทางออกของพวกเค้าอีกต่อไป ดังนั้นเราต้องใช้วิธี Stay Interview เพื่อลดการลาออกขององค์กร แต่ถ้าหากว่าคุณกำลังประสบปัญหากำลังคนขาด ให้ Kaidoo ช่วยสร้างทางเลือกที่ดีกว่าให้คุณก็ได้เช่นกัน
ข้อมูลจาก : คุณรวิศ หาญอุตสาหะ
ภาพจาก : Grosum